Last updated: 22 มี.ค. 2566 | 376 จำนวนผู้เข้าชม |
นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2015 LM Perpetual (แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล) ได้ผ่านการรังสรรค์มาแล้วทั้งในเวอร์ชัน เรดโกลด์ แพลทินัม ไวท์โกลด์ ไทเทเนียม เยลโลโกลด์ และแพลลาเดียม และในปี ค.ศ. 2023 นี้ เวอร์ชันใหม่จะได้เข้าร่วมในครอบครัวเรือนเวลานี้ ภายใต้รุ่น LM Perpetual Stainless Steel (แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล สเตนเลส สตีล) พร้อมทั้งแผ่นหน้าปัดสีแซลมอนอันรุ่มรวย โดยการผสมผสานของสตีลและแซลมอนนี้ยังนับเป็นครั้งแรกสำหรับ MB&F (เอ็มบีแอนด์เอฟ) ซึ่งทายาทรุ่นใหม่นี้ได้สืบทอดไว้ด้วยความโดดเด่นของปุ่มกดปรับตั้งที่ออกแบบให้รับกับสรีระข้อมือ ซึ่งพบเห็นครั้งแรกมาแล้วในผลงานรุ่นต่างๆ ของ LM Perpetual EVO (แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล อีโว)
เริ่มต้นด้วยการทำงานบนแผ่นกระดาษเปล่า ที่ MB&F และช่างนาฬิกาอิสระชาวไอริช Stephen McDonnell (สตีเฟน แมคดอนเนลล์) ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมดให้กับความสลับซับซ้อนสูงสุดของเครื่องบอกเวลาตามประเพณี อย่าง ปฏิทินร้อยปี หรือ perpetual calendar (เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์) ด้วยผลลัพธ์นั่นคือผลงานรุ่น Legacy Machine Perpetual (เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล) ที่มาพร้อมภาพการมองเห็นอันน่าทึ่งของกลไกซึ่งผลิตขึ้นภายในโรงงานของตนเอง โดยพัฒนามาจากพื้นฐานหลักของการขจัดข้อเสียในปฏิทินร้อยปีตามประเพณีแบบดั้งเดิม
ในความเป็นจริงแล้ว ความสลับซับซ้อนใหม่นี้ยังมอบซึ่งสัมผัสอันเปี่ยมด้วยความรู้สึก และสามารถชื่นชมได้อย่างสมบูรณ์ผ่านด้านของหน้าปัด ซึ่งนับเป็นหนึ่งในประโยชน์อีกมากมายที่นำเสนอโดยกลไกชุดใหม่นี้ที่ควบคุมผ่านโดยโปรเซสเซอร์จักรกล (mechanical processor) อันอัจฉริยะ
LM Perpetual ขับเคลื่อนโดยกลไกคาลิเบอร์แบบผสานอย่างสมบูรณ์ที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน 581 ชิ้น โดยไร้ซึ่งโมดูล ไม่มีฐานกลไก แต่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยระบบปฏิวัติใหม่สำหรับคำนวณจำนวนวันของแต่ละเดือนได้อย่างแม่นยำ และเป็นการแปลความหมายใหม่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ให้กับความสวยงามของปฏิทินร้อยปี โดยจัดวางความสลับซับซ้อนอันสมบูรณ์ทั้งหมดนี้ไว้บนการแสดงซึ่งไร้หน้าปัดที่อยู่ด้านใต้บาลานซ์แบบแขวน (suspended balance) อันแสนน่าทึ่ง
ปฏิทินร้อยปีถือเป็นหนึ่งในความสลับซับซ้อนแห่งประเพณีการประดิษฐ์นาฬิกาอันยิ่งใหญ่ จากการคำนวณอันซับซ้อนอย่างชัดเจนของจำนวนวันที่แตกต่างกันในแต่ละเดือนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งรวมไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 29 วัน ในระหว่างปีอธิกสุรทิน แต่ปฏิทินร้อยปีตามประเพณีนั้นยังคงมีข้อเสียบางประการ เช่น วันที่ที่เป็นการกระโดดข้าม และก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยง่าย หากการปรับตั้งเกิดขึ้นในระหว่างที่วันที่กำลังเปลี่ยน เช่นเดียวกับโดยปกติแล้ว ความสลับซับซ้อนนี้ยังประกอบด้วยโมดูลต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโดยกลไกฐานเป็นหลักจากการผสานอย่างสมบูรณ์ และกลไกที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะของ เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล จึงได้ถูกออกแบบนับจากภาพร่างเพื่อการใช้งานอย่างไร้อุปสรรค โดยไม่มีระบบวันที่กระโดดอีกต่อไป หรือเกิดปัญหาการติดขัดของเกียร์เฟืองต่างๆ เช่นกันกับปุ่มกดตัวปรับตั้งที่สามารถปล่อยออกจากการทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อปฏิทินเปลี่ยน ฉะนั้น จึงไร้ซึ่งปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในระบบนี้เช่นกัน!
โดยระบบจักรกลปฏิทินร้อยปีตามประเพณีนั้นใช้เดือนที่มี 31 วัน เป็นเดือนฐาน และโดยพื้นฐานแล้วจะ “ลบ” วันที่ที่เกินมาสำหรับเดือนต่างๆ ที่มีจำนวนวันน้อยกว่า จากการเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วผ่านวันที่ที่ละไว้ในระหว่างการเปลี่ยนวันที่ การเปลี่ยนของปฏิทินถาวรตามประเพณีทั่วไปจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ไปยังวันที่ 1 มีนาคมนี้จึงเป็นการเลื่อนอย่างรวดเร็วผ่านวันที่ 29, 30 และ 31 จนไปถึงวันที่ 1
แต่สำหรับ LM Perpetual ได้เปลี่ยนระบบปฏิทินถาวรตามประเพณีมาไว้บนส่วนยอด โดยการใช้ “โปรเซสเซอร์จักรกล” แทนระบบสถาปัตยกรรมของเฟืองเลเวอร์ขนาดใหญ่ (grand levier หรือ big lever) ตามแบบดั้งเดิมซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า โปรเซสเซอร์จักรกลนี้จะใช้เดือนที่มี 28 วันเป็นฐาน และเพิ่มวันเพิ่มเติมต่างๆ ตามต้องการ ซึ่งนั่นหมายความว่าในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันที่ต้องการอย่างชัดเจน จึงไม่มีการก้าวข้ามไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วหรือกระโดดจากวันที่ถูกละไว้ และในระหว่างปีอธิกสุรทินก็สามารถถูกตั้งไว้ตามปฏิทินถาวรทั่วไปโดยการเลื่อนผ่านได้สูงสุด 47 เดือน นอกจากนี้ LM Perpetual ยังมีปุ่มกดสำหรับปรับตั้งอย่างรวดเร็วที่ออกแบบขึ้นเฉพาะเพื่อการปรับตั้งปี
ด้วยหน้าปัดแบบเปิดซึ่งเผยให้เห็นความสลับซับซ้อนทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ รวมถึงบาลานซ์แบบแขวน ความสวยงามทางจักรกลอันกลมกลืนของ LM Perpetual ยังนับเป็นการขโมยความโดดเด่นที่สะกดทุกสายตาได้อย่างแท้จริง และด้วยความพิเศษทางเทคนิคที่น่าสนใจ นั่นคือ บาลานซ์แขวนสูงอันสง่างามสะกดสายตา ทั้งยังเชื่อมต่อเข้ากับเอสเคปเมนท์ (escapement) บนด้านหลังของกลไกได้ด้วยสิ่งที่อาจเรียกว่าเป็น ก้านบาลานซ์ (balance staff) ที่ยาวที่สุดในโลก
การใช้ระบบนวัตกรรมซึ่งพัฒนาขึ้นเฉพาะสำหรับ Legacy Machine Perpetual นี้ ทำให้หน้าปัดย่อยต่างๆ ปรากฏเสมือน“ลอย” อยู่เหนือกลไกด้วยการเชื่อมต่อที่มองไม่เห็น โดยหน้าปัดย่อยแบบสเกเลตัน (skeletonised) เหล่านี้ได้จัดวางบนปุ่มสตั๊ดซึ่งซ่อนอยู่ และไม่อาจเกิดขึ้นได้ในทางเทคนิคสำหรับจักรกลปฏิทินถาวรตามแบบประเพณีทั่วไป ด้วยเพราะจะไปกั้นการเคลื่อนไหวของเลเวอร์ขนาดใหญ่ (grand levier) นั่นเอง
และหากพิจารณาวนตามเข็มนาฬิกาไปบนหน้าปัดแล้ว จะพบความสมดุลกลมกลืนของการจัดวาง นับตั้งแต่ ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ที่เราจะได้เห็นการแสดงชั่วโมงและนาทีซึ่งจัดวางไว้ระหว่างส่วนโค้งอันสง่างามของบาลานซ์ ขณะที่จัดวางอย่างสมดุลด้วยการแสดงวันของสัปดาห์ ณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกา ตามมาด้วยการแสดงพลังงานสำรองที่ตำแหน่ง 4 นาฬิกา การแสดงเดือน ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกา ตัวแสดงปีอธิกสุรทินแบบเรโทรเกรดที่ตำแหน่ง 7 นาฬิกา และการแสดงวันที่ ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา
ผลงาน เลกาซี แมชชีน เพอร์เพทชวล ได้ครอบครองรางวัลนาฬิกาปฏิทินยอดเยี่ยม (Best Calendar Watch Prize) มาแล้วในงาน GPHG - Grand Prix d’Horlogerie de Genève ในปี ค.ศ. 2016
แรงบันดาลใจและการทำให้เป็นจริง
คอลเลกชัน Legacy Machine ได้ถูกคิดค้นขึ้น เมื่อเจ้าของแบรนด์ MB&F และผู้อำนวยการสร้างสรรค์ อย่าง Maximilian Büsser (แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์) ได้เริ่มต้นจากความคิดจินตนาการว่า “จะเกิดอะไรขึ้น หากผมเกิดในปี ค.ศ. 1867 แทนที่จะเป็นปี ค.ศ. 1967 ในต้นยุค 1900s ที่นาฬิกาข้อมือเรือนแรกๆ ได้ปรากฏตัวขึ้น และผมน่าจะอยากที่จะสร้างสรรค์เครื่องจักรกลบอกเวลาแบบสามมิติสำหรับข้อมือขึ้นเช่นกัน แต่ Grendizers (เกรนไดเซอร์), สตาร์ วอร์ส และเครื่องบินรบอื่นๆ ก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นรายล้อมจินตนาการของผมในเวลานั้น ทว่า ผมอาจจะมีนาฬิกาพก จากแรงบันดาลใจของหอไอเฟล และ Jules Verne (ฌูลส์ แวร์น) ขึ้นก็ได้ ถ้าเช่นนั้น เครื่องจักรกลยุค 1900s จะมีหน้าตาเช่นไรกัน อาจจะเป็นนาฬิกาเรือนกลมและคงต้องมีรูปลักษณ์แบบสามมิติ” จากจินตนาการนี้ได้มอบผลลัพธ์เป็นการถือกำเนิดของ Legacy Machine No.1 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2011 ตามมาด้วย LM2 และ LM101 ในเวลาต่อมา
โครงการ แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล ได้เริ่มต้นขึ้นโดยการมาพบกันของ แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ และช่างนาฬิกาชาวไอริชเหนือ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ซึ่ง แมคดอนเนลล์ เองเป็นเพื่อนของแบรนด์ (Friend of the brand) มาเป็นเวลานาน และสวมบทบาทในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับสร้างสรรค์เรือนเวลารุ่นแรกๆ ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ อย่าง Horological Machine No.1 (ออโรโลจิคัล แมชชีน นัมเบอร์ 1) ให้เกิดขึ้นจริง โดยขณะที่ บูซเซอร์ กำลังคิดถึงการพัฒนาปฏิทินร้อยปีสำหรับนาฬิการุ่นที่สี่ในคอลเลกชัน Legacy Machine แมคดอนเนลล์ตอบว่าเขามีความคิดหนึ่งสำหรับปฏิทินถาวรที่จะช่วยขจัดข้อเสียมากมายที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาปฏิทินตามประเพณีดั้งเดิมออกไปได้ หลังจากนั้นสามปี รวมทั้งหลากหลายค่ำคืนที่ไม่อาจหลับใหล Legacy Machine Perpetual จึงได้ถือกำเนิดขึ้น
ปฏิทินร้อยปีตามประเพณี
ปฏิทินร้อยปีตามประเพณีนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีโมดูลซึ่งประกอบด้วยความสลับซับซ้อนสำหรับปฏิทินนี้ และติดตั้งไว้ด้านบนของกลไกที่มีอยู่เดิม โดยการแสดงปฏิทินต่างๆ จะสอดคล้องผ่านเลเวอร์ขนาดยาว (ในภาษาฝรั่งเศสคือ grand levier) ที่พาดผ่านด้านบนสุดของโมดูลสลับซับซ้อนและผ่าน ณ จุดศูนย์กลาง ซึ่งเมื่อวันที่เปลี่ยน เลเวอร์ขนาดยาวนี้จะส่งถ่ายข้อมูลไปยังชิ้นส่วนและจักรกลต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการเคลื่อนไปข้างหลังหรือข้างหน้า
การใช้เลเวอร์ขนาดยาวนี้ยังหมายถึงไม่อาจมีสิ่งใดติดตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของความสลับซับซ้อนซึ่งจะอาจขัดขวางการทำงานของเลเวอร์นี้ได้ เช่น บาลานซ์แบบแขวน ด้วยก้านที่ติดตั้งลงผ่านศูนย์กลางของกลไกไปยังเอสเคปเมนท์บนด้านหลัง เลเวอร์นี้ยังหมายถึงปฏิทินร้อยปีจำเป็นต้องใช้พื้นที่หน้าปัดทั้งหมด ซึ่งอาจมีส่วนที่ตัดหรือเปิดออก หรือด้วยช่องหน้าต่าง เพราะไม่สามารถรองรับหน้าปัดย่อยอื่นๆ ไว้ได้ด้วยปุ่มสตั๊ด เพราะจะไปกั้นการเคลื่อนไหวของระบบจักรกลเลเวอร์ขนาดใหญ่
ในระบบเลเวอร์ขนาดใหญ่ตามประเพณีแล้ว ส่วนใหญ่จะมีปฏิทินร้อยปีซึ่งประกอบด้วยเดือนต่างๆ ทั้งหมดที่มีจำนวน 31 วัน และ ณ สิ้นเดือนของเดือนที่มีน้อยกว่า 31 วัน จักรกลจะกระโดดข้ามอย่างรวดเร็วผ่านวันที่เกินมา ก่อนที่จะไปถึงยังวันที่ 1 ของเดือนใหม่ การควบคุมหรือการปรับตั้งวันที่ในระหว่างการเปลี่ยนนี้อาจส่งผลเสียหายต่อจักรกล ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมอันแสนแพงโดยผู้ผลิตนาฬิกา ขณะที่วันที่ต่างๆ ยังสามารถกระโดดหรือก้าวข้ามในระหว่างการเปลี่ยนวันที่ได้ เพื่อมอบวัตถุประสงค์หลักของปฏิทินถาวร นั่นคือการไม่จำเป็นต้องปรับตั้งเป็นเวลาหลายปี หรือหลายทศวรรษ “ผมเรียกว่านาฬิกาปฏิทินร้อยปีบูมเมอแรง เพราะมันจะย้อนกลับมายังโรงงานเพื่อซ่อมแซมบ่อยมาก” แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์ กล่าว “ทั้งสาเหตุจากจักรกลติดขัด ถูกกั้น หรือเสียหาย หรือกระโดดไปยังวันอื่นๆ ที่ไม่ควรจะเป็น”
โปรเซสเซอร์จักรกล
Legacy Machine Perpetual ใช้ “โปรเซสเวอร์จักรกล” ที่ประกอบด้วยซีรีส์ของดิสก์วางซ้อนกัน โปรเซสเซอร์ปฏิวัตินี้ใช้จำนวนวันพื้นฐานในเดือนที่มี 28 วัน เพราะตามหลักการแล้ว เดือนทั้งหมดจะมีอย่างน้อย 28 วัน จากนั้นจึงค่อยเพิ่มวันเพิ่มเติมตามต้องการในแต่ละเดือนเฉพาะ ซึ่งทำให้มั่นใจว่าในแต่ละเดือนนั้นจะมีจำนวนวันที่ถูกต้องชัดเจน และไม่มี “การกระโดดข้าม” วันที่เกินมา จึงไม่ทำให้เกิดการกระโดดของวันที่ที่ไม่ถูกต้องขึ้น
ขณะที่การใช้อุปกรณ์ อย่าง แพลเนตแทรีแคม (planetary cam) ยังทำให้โปรเซสเซอร์จักรกลนี้สามารถทำการปรับตั้งปีได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแสดงวงจรของอธิกสุรทินสี่ปีได้อย่างถูกต้อง ขณะที่จักรกลปฏิทินถาวรตามประเพณีนั้นจำเป็นต้องให้ผู้ใช้งานเลื่อนผ่านไปสูงสุดถึง 47 เดือน เพื่อไปถึงยังเดือนและปีที่ถูกต้อง
โปรเซสเซอร์จักรกลนี้ยังสามารถมอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยในตัว ที่จะปล่อยการเชื่อมต่อออกจากปุ่มกดปรับตั้งได้อย่างรวดเร็วในระหว่างที่มีการเปลี่ยนวันที่ เพื่อขจัดความเสี่ยงที่มีต่อความเสียหายของจักรกล ขณะที่วันที่นั้นกำลังเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน แนวคิดและการพัฒนาความสลับซับซ้อนของปฏิทินถาวรซึ่งควบคุมโดยโปรเซสเซอร์จักรกลนี้ยังนับเป็นความสำเร็จอันทรงคุณค่า เมื่อ สตีเฟน แมคดอนเนลล์ ได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม โดยการบริหารการจัดวางชิ้นส่วนทั้ง 581 ชิ้นทั้งหมดของกลไกไว้ภายในตัวเรือนขนาดเดียวกันกับ LM1 ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เปิดประตูสู่โลกใหม่แห่งสุนทรียะความสวยงามของปฏิทินร้อยปี
การพัฒนาที่หลีกหนีจากการใช้เลเวอร์ขนาดใหญ่ของปฏิทินนั้น ยังช่วยรังสรรค์ซึ่งสุนทรียะความสวยงามใหม่อย่างสมบูรณ์ที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากใช้ระบบตามแบบประเพณีดั้งเดิม โดยโปรเซสเซอร์จักรกลของ เอ็มบีแอนด์เอฟ นี้ช่วยให้พื้นที่ ณ ศูนย์กลางของความสลับซับซ้อนถูกนำมาใช้ได้ ดังนั้น จึงช่วยประหยัดพื้นที่และปล่อยให้สามารถออกแบบได้อย่างอิสระ เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เต็มของหน้าปัดอีกต่อไป
Legacy Machine Perpetual ยังนำข้อได้เปรียบอีกมากมายของกลไกแบบผสานอย่างสมบูรณ์มาประยุกต์ใช้ เพื่อจัดวางจักรกลปฏิทินถาวรไว้ด้านบนสุดของแท่นเครื่องกลไก และเพื่อให้สามารถชื่นชมกลไกและจักรกลเหล่านี้ได้จากด้านบนของนาฬิกา ขณะที่ความสามารถในการมองเห็นได้อย่างชัดเจนยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับเรือนเวลาปฏิทินถาวร เนื่องจากจำนวนของการแสดงข้อมูลต่างๆ ที่มากขึ้น และใน LM Perpetual นี้ได้เลือกใช้หน้าปัดย่อยแบบสเกเลตัน (ยกเว้นเพียงหน้าปัดสำหรับการแสดงเวลา) ที่ปรากฏเสมือนลอยอยู่เหนือความสลับซับซ้อนที่ไร้การรองรับจากด้านล่าง
บาลานซ์ด้านบน เอสเคปเมนท์ด้านล่าง
อีกหนึ่งนวัตกรรม คือ Legacy Machine Perpetual ได้ใช้สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเดือยเฟืองบาลานซ์วีลที่ยาวที่สุดในโลก เพื่อเชื่อมต่อบาลานซ์แบบแขวนอันสง่างามที่ลอยอยู่เหนือด้านบนสุดของกลไกเข้ากับเอสเคปเมนท์บนด้านหลังของกลไก ทำให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพการใช้งานและความไว้วางใจเชื่อถือได้ซึ่งนับเป็นหัวใจหลัก ก่อนที่งานการพัฒนาอื่นๆ จะเริ่มต้นตามมา ขณะที่การมองเห็นผ่านฝาหลังแบบเปลือยโปร่งนั้นยังถ่ายทอดภาพการเคลื่อนไหวโดยเอสเคปเมนท์ ซึ่งผ่านการตกแต่งด้วยมืออย่างประณีตพิเศษ ทั้งบนสะพานจักรและแท่นเครื่องอันงดงามสะกดสายตาอย่างแท้จริง
‘เพื่อน’ ผู้รับผิดชอบการสร้างสรรค์ LM Perpetual
แนวคิด: Maximilian Büsser / MB&F
ออกแบบผลิตภัณฑ์: Eric Giroud / Through the Looking Glass
บริหารจัดการด้านเทคนิคและการผลิต: Serge Kriknoff / MB&F
ออกแบบกลไกและการตกแต่งคุณสมบัติเฉพาะต่างๆ: Stephen McDonnell and MB&F
พัฒนากลไก: Stephen McDonnell and MB&F
วิจัยและพัฒนา: Julien Peter, Pierre-Alexandre Gamet and Robin Cotrel / MB&F กรรมวิธีและการทดลองในห้องปฏิบัติการ: Maël Mendel and Anthony Mugnier / MB&F
เฟือง, เฟืองเดือย, กลไก, ชิ้นส่วนแกน: Paul-André Tendon / Bandi, Daniel Gumy / Decobar, Le Temps Retrouvé and Swiss Manufacturing
สะพานจักรบาลานซ์วีลและแท่นเครื่อง: Benjamin Signoud / AMECAP
บาลานซ์วีล: Precision Engineering
บาลานซ์สปริง: Stefan Schwab / Schwab-Feller
สะพานจักร: Rodrigue Baume / HorloFab
ชิ้นส่วนของปฏิทินร้อยปี: Alain Pellet / Elefil Swiss
งานแกะสลักด้วยมือของกลไก: Glypto
งานตกแต่งด้วยมือของชิ้นส่วนกลไก: Jacques-Adrien Rochat and Denis Garcia / C-L Rochat, DSMI
การเคลือบ พีวีดี (PVD): Pierre-Albert Steinmann / Positive Coating
การประกอบกลไก: Didier Dumas, Georges Veisy, Anne Guiter, Emmanuel Maitre, Henri Porteboeuf, Mathieu Lecoultre and Amandine Bascoul / MB&F
การบริการหลังการขาย: Thomas Imberti / MB&F
การผลิตขึ้นรูปภายในโรงงาน: Alain Lemarchand, Jean-Baptiste Prétot, Romain Camplo and Stéphanie Carvalho Correia / MB&F
การควบคุมคุณภาพ: Cyril Fallet and Jennifer Longuepez / MB&F
ตัวเรือน: Alain Lemarchand, Jean-Baptiste Prétot and Romain Camplo / MB&F
ทอง ingots CoC (Chain of Custody): Jean-Philippe Chételat / Cendres et Métaux
การตกแต่งตัวเรือน: Bripoli, FIFAJ Horlogerie,Termin’hor
หน้าปัด: Hassan Chaïba and Virginie Duval / La Montre Hermès SA
หัวเข็มขัดสาย: G&F Chatelain
เม็ดมะยมและตัวปรับตั้ง: Cheval Frères
เข็มชี้: Waeber HMS
กระจกแซฟไฟร์: Econorm
สาย: Multicuirs
21 พ.ย. 2567
23 พ.ย. 2567
23 พ.ย. 2567
22 พ.ย. 2567