Chopard “Meet our Artisans” นิทรรศการที่เผยเบื้องหลังศาสตร์แห่งศิลป์ครั้งแรกในเมืองไทย 1-7 พฤศจิกายน 2019, Hall of Fame, Siam Paragon

Last updated: 31 ต.ค. 2562  |  3226 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Chopard “Meet our Artisans” นิทรรศการที่เผยเบื้องหลังศาสตร์แห่งศิลป์ครั้งแรกในเมืองไทย 1-7 พฤศจิกายน 2019, Hall of Fame, Siam Paragon

แบรนด์นาฬิกาและจิวเวลรี่ระดับหรูจากสวิตเซอร์แลนด์ Chopard (Chopard) เจ้าของนิยาม “ช่างศิลป์แห่งความสุนทรีย์ นับแต่ปี 1860” (The Artisan of Emotions since 1860) พร้อมตอกย้ำค่านิยมของการอนุรักษ์ศาสตร์และศิลป์แบบโบราณ และความล้ำเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการนำเสนอแนวใหม่ที่จะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมให้แก่คนรักนาฬิกา

Chopard ร่วมกับบริษัท S.T. Diamond Design ผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ Chopard ในประเทศไทย นำนิทรรศการ “Meet our Artisans” ซึ่งรูปแบบและชิ้นงานในนิทรรศการได้รับการคัดสรรอย่างพิเศษโดยแบรนด์ Chopard ในสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อมาจัดในประเทศไทยเป็นที่แรกของโลก ณ บริเวณ Hall of Fame ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 1- 7 พฤศจิกายน ศกนี้ เวลา 11:00น. - 21:00 น. นิทรรศการครั้งนี้เน้นย้ำถึงประณีตศิลป์ของการสร้างสรรค์นาฬิกาและเครื่องประดับแบบไฮ จิวเวลรี่ ที่เป็นจุดเด่นของแบรนด์ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณของเหล่าช่างศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Chopard นั่นเอง

Chopard มีความโดดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์รูปแบบดั้งเดิม ความมีจิตใจเป็นศูนย์กลาง ความจริงจังและลึกซึ้งในการทำงาน พร้อมการปรับแนวทางการสร้างสรรค์สู่ความเป็นสมัยใหม่ ทั้งนี้ Chopard ผลิตชิ้นงานด้วยมุมมองของการมองโลกเชิงบวกเสมอ โดยยึดหลักความลงตัวระหว่างประสบการณ์ของเหล่าช่างศิลป์ที่สั่งสมมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่นและความกล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ ทำให้เกิดปรากฏการณ์นาฬิกาและเครื่องประดับที่ล้ำเลิศโดดเด่นกว่าใคร

ภายในงาน Chopard นำ 5 ช่างศิลป์ในแขนงต่างๆ ของการผลิตนาฬิกา ที่บินตรงจากห้องปฏิบัติการที่กรุงเจนีวา มาสาธิตวิธีการสร้างสรรค์ผลงานให้ประชาชนทั่วไปได้ชื่นชม โดยผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้รับประสบการณ์เสมือนร่วมเดินทางไปกับช่างศิลป์เหล่านี้ เพื่อรับรู้ถึงชีวิตการทำงานในแต่ละวันในห้องปฏิบัติการของ Chopard พร้อมสัมผัสถึงความรักและความหลงใหลที่พวกเขามีต่องานศิลป์ และอารมณ์สุนทรีย์ตลอดทุกขั้นตอนการสร้างสรรค์งาน และพลาดไม่ได้สำหรับงานนี้ คือ Chopard ยังนำเสนอชิ้นงานสร้างสรรค์ ทั้งนาฬิกาและเครื่องประดับไฮ จิวเวลรี่ ที่นำเข้ามาแสดงที่ประเทศไทยโดยเฉพาะ สำหรับช่างศิลป์ทั้ง 5 แขนงที่จะพบได้ในงานนี้ประกอบด้วย
1 The Artisan of Movement Decoration ช่างศิลป์แห่งประติมากรรมระบบกลไก ความงามที่ซ่อนเร้น
เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตกแต่งสิ่งที่ซ่อนเร้นไม่ปรากฏต่อสายตา การทำเช่นนี้มีกฏเกณฑ์และขอบเขตเพียงไร ใครหนอ ช่างคิดที่จะเสริมเติมแต่งแม้กระทั่งตะปูควงอันเล็กจิ๋วเหล่านี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นรายวันในเวิร์กช็อปของโรงงานChopard ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งด้วยลวดลายเส้นขนานที่เรียกว่า โคตส์ เดอ เจแนฟ (Côtes de Genève) การเล่นระดับ (bevelling) การสลักลายวงกลม (Circular graining) การสลักลายแบบซาติน (Satin brushing) การสลักลายแสงอาทิตย์ (Sunray patterning) และการสลักลายดอกไม้ (Fleurisanne engraving) ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะที่เสริมส่งคุณค่ากลไลการเคลื่อนไหวของนาฬิกา รวมถึงความคิดอันปราชญ์เปรี่องเบื้องหลังทุกกระบวนการของประติมากรรมนั้น ๆ
2. The Master Artisan of Gemsetting ปรมาจารย์แห่งการฝังอัญมณี ศิลปะการยกระดับพลอยมีค่า

 คาร์โลส (Carlos) คือศิลปินเอกในด้านการฝังอัญมณีแห่งแบรนด์Chopard เขาเปรียบประดุจผู้วิเศษ ที่สามารถผสานหินมีค่าเข้ากับโลหะทอง แพลทินัม หรือไทเทเนี่ยมอย่างน่าอัศจรรย์ไม่มีใครเทียบ

โลหะมีค่าต่าง ๆ เหล่านี้ มีหน้าที่รองรับอัญมณีสุกใส เป็นตัวชู เสริมส่ง และเพิ่มพูนมูลค่าให้แก่เพชรพลอยอย่างแยกกันไม่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองสิ่งนี้ แนบแน่นยิ่งนัก และประสานกันผ่านกล้องส่องภายใน

ความเงียบสงัดของเวิร์กช็อป ณ นครเจนีวา โดยแต่ละวันจะมีกระบวนการที่ทำต่อเนื่องกันมา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือน แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เพราะทุกครั้งมีความแปลกใหม่ด้วยอัญมณีแต่ละเม็ดนั้น มีเอกลักษณ์

โดดเด่นของตนเองที่ไม่ซ้ำแบบใคร
3. The Artisan of Grand Complications Assembly ช่างฝีมือผู้อยู่เบื้องหลังการประกอบกลไกสลับซับซ้อน การรังสรรค์ L.U.C Full Strike หัวใจแห่งความมหัศจรรย์ของเสียงอันแสนไพเราะ
ที่เวิร์กช็อปของChopard (Chopard) ในนครเจนีวา ชิ้นส่วนกว่า 533 ชิ้นถูกประกอบรวมกันเป็นนาฬิกา L.U.C ฟูล สไตร์ค (L.U.C Full Strike) ซึ่งมีผู้ผลิตนาฬิกาเพียงสามรายเท่านั้นที่สามารถสร้างสรรค์นาฬิกาประเภทนี้ได้

และหนึ่งในนั้นก็คือ คริสโตเฟอร์ หรือ คริสตอฟ (Christoph) เรือนเวลาประเภทนี้มีเข็มนาฬิกาที่ส่งเสียงกังวานด้วยคริสตัลเพื่อบอกเวลา

ทั้งควอเตอร์ของชั่วโมงและบอกนาที มาสัมผัสกับงานเบื้องหลังของความพิเศษนี้กันว่าเป็นอย่างไรบ้าง
4. The Jewellery Model Artisan ช่างศิลป์ขึ้นรูปเครื่องประดับ ศิลปินนักปั้นมือพระกาฬ
เทคโนโลยีการสร้างภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์สามารถช่วยอุตสาหกรรมเครื่องประดับได้มาก ช่วยให้ประหยัดเวลาการทำงาน แต่ถึงกระนั้น แม้จะแม่นยำสักเพียงใดก็ตาม

คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถใส่จิตวิญญาณเข้าไปในต้นแบบเครื่องประดับได้เลย มีเพียงมือมนุษย์เท่านั้นที่สามารถสื่ออารมณ์และจิตวิญญาณเข้าไปในแบบได้

โดยอาศัยฝีมือที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นเวลานาน และอารมณ์ความอ่อนไหวของช่างศิลป์นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งในบุคคลเหล่านี้ คือ แอนโทนี
5. The Artisanal Draughtsmen ช่างศิลป์นักร่างแบบ ผู้อยู่เบื้องหลังเครื่องประดับเลอค่า อัญมณีชิ้นเอกก่อร่างขี้นมาจากปลายดินสอในเวิร์กช็อปของช่างเขียนแบบ
สำหรับแบรนด์เครื่องประดับ Chopard แล้ว เครื่องประดับอัญมณีแต่ละชิ้นนั้น ถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง เพราะก่อเกิดจากห้วงอารมณ์ การหยั่งรู้ และแรงปรารถนา ที่ผสมผสานกันทีละเล็กทีละน้อย ทีละขั้นตอน โดยที่คนหัวศิลป์ทั้งชายหญิงอย่าง ฌอง-โคลด (Jean-Claude) จะแปลงมโนคติเล็กๆ นั้น ให้กลายเป็นเครื่องประดับอัญมณีอันมีค่าและความงดงามเลอเลิศ เครื่องประดับแต่ละชิ้น ช่างต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ศิลป์แขนงต่าง ๆ มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ราวกับเพลงคลาสสิกที่บรรเลงโดยวงซิมโฟนี ที่นักดนตรีทุกคนบรรเลงเพลงเดียวกัน แต่ใช้เครื่องดนตรีต่างกันไป และเครื่องดนตรีชิ้นแรกนั้น คือดินสอนั่นเอง

มีเพียงไม่กี่แบรนด์ในโลกนี้ที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ผลิตนาฬิกาและจิวเวลรี่ครอบคลุมทุกขั้นตอน และ Chopard ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์นั้น ด้วยความเชี่ยวชาญของช่างฝีมือของ Chopard ผู้มีความสามารถในแต่ละด้าน ทำให้เวิร์กช็อปของ Chopard เต็มไปด้วยช่างฝีมือ ผู้เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์ สร้างสรรค์นาฬิกาที่มีกลไกแสนซับซ้อนและอัญมณีสุดวิจิตร บนเส้นทางแห่งการก้าวข้ามคำว่าเป็นไปไม่ได้ เพื่อสร้างสรรค์นาฬิกาที่สมบูรณ์แบบที่สุดและจิวเวลรี่ชั้นสูง (Haute Joaillerie) นั้น ทุกอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการในการผลิต และนี่คือความมุ่งมั่นของ 2 ประธานร่วมของ Chopard นั่นคือ แคโรไลน์ (Caroline) และคาร์ล-ฟรีดริช ชอยเฟเล่ (Karl-Friedrich Scheufele) ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากรุ่นพ่อแม่ในการพัฒนาเวิร์กช็อปของChopardและผสมผสานความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ ศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการขึ้นรูปทองหรือการประดับอัญมณี การตกแต่งกลไกนาฬิกาหรือการแกะสลักตัวเรือน รวมถึงดูแลการผลิตกลไกซับซ้อนสูงอีกด้วย

นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ไปเยือนเวิร์กช็อปผลิตจิวเวลรี่ของ Chopard และได้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์จิวเวลรี่แสนตระการตา ซึ่งจิวเวลรี่เหล่านี้ได้ไปอวดโฉมปรากฏอยู่บนพรมแดงหรือเทศกาลหนังเมืองคานส์ในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น เนื่องจากChopard เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของงาน การสร้างสรรค์ชิ้นงานทุกชิ้นเริ่มต้นด้วยภาพสเก็ตช์ หรือที่เรียกว่า “กวาช” (Gouache) จากนั้นจึงขึ้นแบบ 3 มิติและปั้นเป็นรูป ก่อนที่จะลงมือบนจิวเวลรี่จริงและตกแต่งด้วยอัญมณี ในขั้นตอนการตกแต่งด้วยอัญมณีนั้นต้องมีการเลือกอัญมณีไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งเป็นความถนัดของแคโรไลน์ ชอยเฟเล่ ผู้หลงใหลในโลกแห่งอัญมณีมาตั้งแต่เด็ก เธอมักเสาะหาอัญมณีที่สวยที่สุด หายากที่สุด มีความลึกลับน่าค้นหาที่สุด และน่าหวงแหนที่สุด ที่จะมาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เธอ จากการที่เธอทำงานที่เวิร์กช็อปจิวเวลรี่ ประกอบกับประสบการณ์การค้นคว้าหลายปี ทำให้เธอค้นพบวิธีประดับอัญมณีเทคนิคใหม่ซึ่งแบรนด์อื่นไม่สามารถทำได้เรียกว่า เมจิคอล เซ็ตติ้ง (Magical Setting) หรือการวางอัญมณีแบบมองไม่เห็น ทำให้ดูราวกับว่าอัญมณีลอยอยู่บนอากาศ  ช่างทำนาฬิกาเหล่านั้นใช้ความสามารถในการผลิตนาฬิกาที่เวิร์กช็อปพิเศษ ทุกท่านล้วนมีความสามารถและความเชี่ยวชาญเหนือระดับหาใครเทียบได้ ที่นี่ยังเป็นจุดกำเนิดแห่ง L.U.C. ฟูล สไตรค์ มินิท รีพีเตอร์ (L.U.C Full Strike minute repeater) อันเลื่องชื่อผลิตจากคริสตัล นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ประกอบชิ้นส่วนตูร์บิย็องของแบรนด์ Chopard และกลไกอันซับซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย 

โรงผลิต Chopardตั้งอยู่ที่เฟลอริเยร์ (Fleurier) เมืองวาลเดอทราแวร์ส (Val-de-Travers) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1996 หรือมากกว่า 20 ปีมาแล้ว เป็นสัญลักษณ์แห่งความฝันของคาร์ล-ฟรีดริช ชอยเฟเล่ ที่กลายเป็นความจริง เขาต้องการจะนำรากฐานแห่งการผลิตนาฬิกาแบบดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งแบรนด์ หลุยส์-ยูลิส Chopard (Louis-Ulysse Chopard) กลับมาอีกครั้ง ซึ่งประวัติศาสตร์ของแบรนด์เกิดขึ้นที่เฟลอริเยร์ในหุบเขานอยชาเทล ณ สถานที่แห่งนี้ ช่างฝีมือใช้ความสามารถของตนเพื่อสร้างสรรค์นาฬิกาตามวิธีดั้งเดิม ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เวิร์กช็อปแห่งนี้เปิดกว้างสู่ทิวทัศน์ภูเขารอบ ๆ และเป็นที่ทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตนาฬิกาในหลาย ๆ ศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การประทับตรา การตกแต่ง การประกอบ การผลิตกลไกซับซ้อนสูง โดยคาร์ล-ฟรีดริช ชอยเฟเล่ เชิญผู้เชี่ยวชาญการสลักด้วยเทคนิคแบบเฟลอริเยร์ มาแกะสลักกลไกของแบรนด์เป็นลวดลายดอกไม้และการตกแต่งต่าง ๆ ส่วนการแกะสลักตัวเรือนนั้นทำในเจนีวา 

นอกจากนี้ ที่เฟลอริเยร์ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งประวัติศาสตร์นาฬิกา L.U.CEUM ตัวอาคารออกแบบให้เหมือนหัวเรือคว่ำราวกับเป็นเรือพาหนะที่จะพาข้ามห้วงเวลา และนี่คือจิตวิญญาณแห่งแบรนด์ ในแง่ของห้วงเวลาที่ผ่านพ้นไปและเวลาที่บอกด้วยนาฬิกา รวมถึงเวลาที่ใช้ในการสร้างสรรค์เรือนนาฬิกาและจิวเวลรี่ รวมทั้งระยะเวลากว่าChopardจะมาเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตนาฬิกาและจิวเวลรี่ระดับโลก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้