Last updated: 21 มี.ค. 2567 | 617 จำนวนผู้เข้าชม |
Girard-Perregaux (จิราร์ด-แพร์โกซ์) นำเสนอนาฬิกาที่มาพร้อมรูปแบบอันมีเอกลักษณ์โดดเด่นของแบรนด์ในช่วงปี 1975 กับผลงานรุ่นใหม่อย่าง Laureato Chronograph Ti49 (ลอรีอาโต โครโนกราฟ ทีไอ49) ผสมผสานรูปแบบอันประณีตเข้ากับการออกแบบตัวเรือนจากไทเทเนียมเกรด 5 ถือเป็นครั้งแรกที่วัสดุที่มีความแข็งแกร่ง ถูกนำมาใช้ในการผลิตตัวเรือนนาฬิกา Laureato อันคลาสสิก นอกเหนือจากความแข็งแกร่งแล้ว วัสดุนี้ยังมีน้ำหนักเบา ทนต่อการกัดกร่อน และไม่ก่อให้เกิดการภูมิแพ้ต่อผิวหนัง
สองบุรุษที่มีความสำคัญ จากจุดเริ่มต้นสู่การค้นพบ ประดิษฐ์และการศึกษา
จากเด็กกำพร้าตั้งแต่อายุยังน้อย Jean-François Bautte (1772-1837) ต้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เขาเริ่มต้นจากการเข้าร่วมฝึกทำนาฬิกาตั้งแต่ยังเด็ก โดยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตนาฬิกาอย่างละเอียด รวมถึงวิชาความรู้ในศาสตร์ของการผลิตนาฬิกาต่างๆ เช่น การประกอบตัวเรือน การแกะสลักกิโยเช่และการทำทอง โดยในปี 1791 Bautte ที่มีอายุเพียง 19 ปีเขาได้ร่วมลงนามในการผลิตนาฬิกาเรือนแรกที่มีฐานการผลิตในเมืองเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์นี้เสมือนการเริ่มต้นและสะสมชื่อเสียงการผลิตนาฬิกาจนกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Girard-Perregaux ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเมือง La Chaux-de-Fonds
ในปีเดียวกันกับ Bautte ได้ลงนามในการผลิตนาฬิการุ่นแรกของเขา ทางด้านนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า William Gregor (1761-1817) ได้ค้นพบแร่ไทเทเนียมในคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ เขารู้สึกหลงใหลในแร่ธาตุและใช้เวลาศึกษาการสะสมของทรายสีดำในหุบเขา Manaccan เขาสามารถแยกเถ้าถ่านที่เกิดจากความร้อนได้ ด้วยกระบวนการที่สกัดโลหะที่ไม่จำเป็นออกไป โดย William Gregor ตั้งชื่อโลหะที่เหลือว่า 'manaccanite' ซึ่งเป็นโลหะที่ต่อมาได้กลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อ "ไทเทเนียม" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับแรงบันดาลใจจากยักษ์ไททันในตำนานกรีกโบราณ
หุบเขา Manaccan อยู่ห่างจากกรุงเจนีวาประมาณ 1,400 กม. แต่ทั้ง Jean-François Bautte และ William Gregor ต่างมีแรงขับเคลื่อนโดยมีจุดประสงค์ในการค้นพบ ประดิษฐ์ และศึกษาเหมือนกัน
ไทเทเนียมเกรด 5
ถ้าหากอ่านจากตารางธาตุโดยใช้นิ้วมือกวาดจากซ้ายไปขวา จะพบกับธาตุไทเทเนียม (Ti) ในตำแหน่งที่ 4 เพื่อทำการสังเคราะห์แยกไทเทเนียมให้ได้ธาตุเนื้อบริสุทธิ์ จึงมีการพัฒนากระบวนการต่างๆ อย่างกระบวนการฮันเตอร์ที่ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1910 และหลังจากนั้นถูกแทนที่ด้วยกระบวนการโครลล์ที่คิดค้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยังคงใช้อยู่จวบจนปัจจุบัน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทเทเนียมหลายเกรดได้ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก โดยผสมไทเทเนียมบริสุทธิ์กับธาตุที่มีองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ โลหะผสมไทเทเนียม 6-4 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อไทเทเนียมเกรด 5 ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1951 โดยศาสตราจารย์ Stan Abkowitz นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัสดุนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ทางด้านเคมี การแพทย์ การเดินเรือ อาวุธปืน การบินและอวกาศ ฯลฯ รวมไปถึงการผลิตนาฬิกาชั้นสูง
ไทเทเนียมเกรด 5 ประกอบด้วยไทเทเนียมเกือบ 90%, อลูมิเนียม 6%, วาเนเดียม 4% และธาตุเหล็กและออกซิเจนเล็กน้อย จึงมีน้ำหนักเบา แข็งแกร่งและทนต่อการกัดกร่อน ไม่มีสนามแม่เหล็กและก่อให้เกิดการแพ้; ซึ่งคุณลักษณะทั้งหมดเป็นประโยชน์ในการผลิตนาฬิกา
ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการใช้ไททาเนียมที่มีรูปแบบเฉพาะนี้คือสามารถนำมาขัดเงาให้เกิดพื้นผิวที่แวววาวได้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ Girard-Perregaux เลือกนำมาสร้างเอกลักษณ์ให้กับนาฬิการุ่นใหม่ล่าสุด Laureato Chronograph Ti49
ไทเทเนียมเกรด 5 - การทำชิ้นส่วนประกอบ
เพื่อไม่ให้สับสนกับไทเทเนียมประเภทที่ถูกกว่า ไทเทเนียมเกรด 5 จึงมีความท้าทายและค่าใช้จ่ายสูงในการผลิต อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับการผลิตนาฬิกาชั้นสูงและประโยชน์ของผู้สวมใส่ ด้วยเหตุผลนี้แบรนด์นาฬิกาจำนวนมากจึงอ้างถึงโลหะนี้ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับโลหะ เช่น ทองคำและแพลทินัม แต่ตัวเรือนและสายนาฬิกาที่มาโทนสีที่ดูอบอุ่นและในขณะเดียวกันก็ดูเท่อย่างเห็นได้ชัด
ความหมายในชื่อ?
"Laureato" เปิดตัวครั้งแรกในปี 1975 เดิมทีมีชื่อเรียกว่า "Quartz Chronometer" ในขณะนั้น ประเทศอิตาลีถือเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของ Girard-Perregaux นาฬิกากลายเป็นที่นิยมของชนชั้นสูง 'ผู้สำเร็จการศึกษา (Laureato ในภาษาอิตาลี) ทาง Girard-Perregaux' ใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นการยกย่องความสำเร็จของนาฬิกาและความแม่นยำ ในที่สุดทางเมซงก็นำชื่อนี้ไปใช้เรียกชื่อรุ่น โดยบังเอิญกับรูปแบบนาฬิกาที่มีขอบตัวเรือนทรงแปดเหลี่ยม ที่มีลักษณะคล้ายมงกุฎลอเรลที่ประดับอยู่บนศีรษะของผู้สำเร็จการศึกษา
Girard-Perregaux เฉลิมฉลองการครบรอบ 49 ปีของนาฬิกาไอคอนิกด้วยการเปิดตัว Laureato Chronograph Ti49
นาฬิกา Laureato - ผลงานจากความประณีต
Laureato Chronograph Ti49 มาพร้อมตัวเรือนขนาด 42 มม. สอดคล้องกับการออกแบบนาฬิกาที่มีเป็นเอกลักษณ์ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1975 ขอบหน้าปัดทรงแปดเหลี่ยมวางอยู่บนฐานทรงกลมซึ่งจะวางอยู่บนตัวเรือนรูปทรงตอนโน โครงสร้างอันประณีตของตัวเรือนเล่นกับแสงได้อย่างสวยงาม เนื่องจากมีการขัดแต่งมุมในหลายส่วน ทำให้เกิดแสงเงาที่ดูแวววาว เห็นได้ชัดว่าองค์ความรู้ที่สั่งสมในการสร้างขอบตัวเรือน ตัวเรือน และสายของ Laureato นั้นเพิ่มมากขึ้นด้วยการใช้ไทเทเนียมเกรด 5 โดยนำมาใช้เป็นครั้งแรกในตัวเรือนนาฬิกาโครโนกราฟของรุ่นก่อนหน้า
เฉดสีของตัวเรือนที่ต้องการสร้างความรู้สึกให้ดูอบอุ่น นอกจากนี้ทาง Girard-Perregaux ใช้ไทเทเนียมเกรด 5 ในการผลิต Laureato Chronograph Ti49 เพื่อให้ได้พื้นผิวที่มีการขัดเงาในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น ฐานทรงกลม ขอบตัวเรือน ปุ่มกดโครโนกราฟ และข้อต่อตรงกลางของสายนาฬิกา ล้วนถูกขัดเงาอย่างพิถีพิถัน
ทางแบรนด์พยายามเน้นสีเทาโมโนโครมของไทเทเนียม พื้นหน้าปัดสีเทาตกแต่งลวดลาย Clous de Paris ที่สะกดทุกสายตา ส่วนเข็มชั่วโมงและเข็มนาทีทรงกระบองเคลือบ PVD สีเทา สอดรับกับขีดแสดงค่าเวลาทรงบาตองโดยเข็มและขัดแสดงค่าเวลาเคลือบสารเรืองแสงสีขาวและเปล่งแสงในพื้นที่ที่มีแสงสลัว
หน้าปัดย่อยสามส่วน: หน้าปัดย่อยโครโนกราฟแบบ 30 นาที, หน้าปัดโครโนกราฟ 12 ชั่วโมง และหน้าปัดสแสดงเวลาวินาทีขนาดเล็ก คั่นระหว่างหน้าปัดย่อยด้วยพื้นผิวที่สลักลาย เจาะช่องหน้าต่างแสดงวันที่ระหว่างตำแหน่ง 4 และ 5 เติมเต็มฟังก์ชันให้กับนาฬิการุ่นนี้ ส่วนโลโก้ GP ชื่อแบรนด์ แทร็กนาที ตลอดจนเครื่องหมายที่ล้อมรอบหน้าปัดย่อย มาในโทนสีขาว ดูตัดกับหน้าปัดสีเทาและช่วยให้สามารถอ่านค่าเวลาได้อย่างง่ายดาย
นาฬิการุ่นนี้บรรจุกลไก Caliber GP03300 กลไกขึ้นลานอัตโนมัติที่ประกอบจากชิ้นส่วน 419 ชิ้น ได้รับการขัดแต่งอย่างสวยงามในหลากหลายรูปแบบ รวมถึง "Côtes de Genève" ทั้งในลวดลายวงกลมและเส้นตรง การขัดพื้นผิว การขัดเงาแบบซาติน การลบเหลี่ยมมุม การขัดเงา การขัดลายก้นหอย การแกะสลัก การขัดเงาแบบซันเรย์ ตลอดจนการใช้สกรูเหล็กเทลเลาจ์ การตกแต่งทุกประเภทมาจากฝีมือของช่างนาฬิกาที่มีพรสวรรค์ของเมซง
ซึ่งเราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า Jean-François Bautte เคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับการค้นพบของ William Gregor หรือไม่; อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปี 1791 เป็นปีที่น่าทึ่ง ผลงานของชายทั้งสองได้นำไปสู่การสร้างสรรค์นาฬิการ่วมสมัยเรือนนี้ ถือเป็นนาฬิกาที่เต็มไปด้วยประเพณีและเปี่ยมด้วยคุณสมบัติ
Laureato Chronograph Ti49 จะวางจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2024 ผ่านตัวแทนจำหน่าย Girard-Perregaux จากทั่วโลก
เกี่ยวกับ Girard-Perregaux
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1791 จีราร์ด-แพร์โกซ์ (Girard-Perregaux) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตนาฬิกาชั้นสูงเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงดำเนินกิจการและได้รับการยกย่องชื่นชมโดยเหล่านักสะสมและผู้หลงใหลในนาฬิกา ด้วยประวัติศาสตร์ของบริษัทที่ได้ปักหมุดไว้โดยผลงานสร้างสรรค์อันแสนพิเศษมากมาย ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างความสวยงามและฟังก์ชันอันเปี่ยมด้วยทักษะ ผลงานรุ่นต่างๆ เหล่านี้ยังรวมไปถึงนาฬิกาไอคอนิก อย่าง ลอรีอาโต (Laureato) ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1975 เช่นเดียวกับตำนานแห่ง ตูร์บิญอง 'วิท ทรี โกลด์ บริดจ์ส' (Tourbillon 'With Three Gold Bridges') ที่ได้สร้างสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นให้สามารถมองเห็นได้ โดยเปลี่ยนรูปสะพานจักรจากองค์ประกอบทางเทคนิคไปสู่ชิ้นส่วนผสมผสานของเรือนเวลา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในโลกแห่งการประดิษฐ์นาฬิกา ตำแหน่งระดับแถวหน้าของจีราร์ด-แพร์โกซ์ ในโลกแห่งนวัตกรรมการประดิษฐ์เครื่องบอกเวลานี้ยังยืนยันด้วยสิทธิบัตรที่ได้รับการบันทึกไว้มากกว่าหนึ่งร้อยฉบับ รวมถึงรางวัลและความโดดเด่นอีกมากมาย โดยบริษัทยังคงเป็นหนึ่งในช่างนาฬิกาเพียงไม่กี่รายผู้ซึ่งรักษาไว้ด้วยสถานะของการเป็น โรงงานการผลิต (Manufacture) มาอย่างยาวนานกว่าสองศตวรรษ จากความเชี่ยวชาญในทักษะทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างสรรค์เครื่องบอกเวลาภายในโรงงานของตนเอง ที่ผสมผสานเข้ากับระดับสูงสุดของความเป็นต้นตำรับขนานแท้ ขณะเดียวกัน จีราร์ด-แพร์โกซ์ยังเคารพต่อมรดกของตนและเดินหน้าพัฒนาความก้าวล้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งหลอมรวมไว้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วัสดุอันล้ำสมัย และการสร้างสรรค์ความสดใหม่ให้กับรูปทรงการออกแบบที่ล้วนเป็นไอคอนิก
ในปี ค.ศ. 2022 จีราร์ด-แพร์โกซ์ และบริษัทในเครือ Maison Ulysse Nardin (เมซง ยูลิส นาร์แดง) ได้รวมตัวผนึกกำลังอันเป็นอิสระของโรงงานการผลิตเครื่องบอกเวลาชั้นสูง (Manufactures)
21 พ.ย. 2567
23 พ.ย. 2567
23 พ.ย. 2567
22 พ.ย. 2567